5 สัญญาณเตือนภัย! บอกอาการเหงือกอักเสบ

อาการเหงือกอักเสบ

เคยสงสัยไหมว่าทำไมบางครั้งเหงือกของเราถึงมีเลือดออกขณะแปรงฟัน หรือมีเหงือกบวม ๆ ไม่แนบกับคอฟัน? นี่อาจไม่ใช่แค่การแปรงฟันแรงเกินไป แต่เป็นสัญญาณเตือนของ “เหงือกอักเสบ” อาการที่หลายคนมองข้าม แต่กลับส่งผลกระทบต่อสุขภาพช่องปากและคุณภาพชีวิตอย่างไม่น่าเชื่อ

5 สัญญาณของเหงือกอักเสบ สังเกตอาการง่าย ๆ (ด้วยตัวเอง)

1. มีเลือดออกขณะแปรงฟัน หรือ ใช้ไหมขัดฟัน อาการที่หลายคนมองข้าม และมักจะเข้าใจผิดว่าเกิดจากการทำความสะอาดที่แรงเกินไป
2. เหงือกจะเปลี่ยนเป็นสีแดงจัด และมีอาการบวม จากเดิมเหงือกของคนเราจะมีลักษณะเป็นสีชมพูซีด และในบางรายอาจมีอาการคันเหงือกร่วมด้วย
3. เหงือกร่น เหงือกที่แยกออกมาไม่แนบสนิทกับฟันจนทำให้เกิดเป็นโพรงขึ้นมา เป็นแหล่งสะสมของแบคทีเรียและเศษอาหารชั้นดี
4. มีกลิ่นปาก การแปรงฟันไม่สะอาด แล้วมีเศษอาหารตกค้างอยู่ตามซอกฟัน เป็นสาเหตุก่อให้เกิดโรคเหงือกอักเสบ
5. ฟันโยก อาการเหงือกอักเสบที่ไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม สามารถพัฒนาไปสู่โรคปริทันต์อักเสบ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของฟันโยก

อาการเหงือกอักเสบ มีกี่ระยะ

 1. เหงือกอักเสบระยะเริ่มต้น

คราบพลัคที่สะสมตามรอยต่อระหว่างฟันและเหงือก ซึ่งเกิดจากการทำความสะอาดที่ไม่ทั่วถึงด้วยการแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟัน เป็นแหล่งสะสมของแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง และอักเสบของเหงือก

ในระยะแรกเริ่มนี้ เหงือกยังสามารถกลับคืนสู่สภาพสมบูรณ์ได้ เนื่องจากโครงสร้างที่รองรับฟันยังไม่ถูกทำลาย

2. โรคปริทันต์อักเสบ

หากละเลยอาการเหงือกอักเสบ ปล่อยทิ้งไว้ไม่รักษา การอักเสบจะลุกลามจนไปทำลายเอ็นยึดปริทันต์ และกระดูกรองรับฟัน เหงือกจะเริ่มร่น เกิดโพรงขึ้นใต้ฟัน ซึ่งจะเป็นแหล่งสะสมแบคทีเรีย จนทำให้เกิดหนองไหลตามไรฟัน และเหงือก

 3. โรคปริทันต์อักเสบรุนแรง

เอ็นยึดปริทันต์ และกระดูกรองรับฟันจะถูกทำลาย จนทำให้ฟันโยกคลอน ในกรณีที่ฟันโยกมาก จะไม่สามารถรักษาได้ อาจต้องถอนฟันเพื่อป้องกันการติดเชื้อลุกลาม

หากเราปล่อยให้อาการเหงือกอักเสบเลยมาถึงขั้นรุนแรง ก็จะสูญเสียฟันแท้ในที่สุด


ข้อมูลเพิ่มเติม : ฟันโยก อันตรายแค่ไหน? ต้องรับมือยังไง (คลิก)

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดอาการเหงือกอักเสบ

  • แปรงฟันไม่สะอาด หรือ ไม่ใช้ไหมขัดฟัน จะทำให้คราบพลัค และหินปูนสะสม
  • ใช้แปรงสีฟันที่มีขนแปรงแข็งเกินไป
  • การสูบบุหรี่
  • การรับประทานอาหาร เช่น อาหารที่มีน้ำตาล และแป้งสูง การดื่มน้ำน้อย
  • เคี้ยวอาหารแข็ง หรือ กัดสิ่งของอย่างรุนแรง
  • ฟันซ้อนเก ทำให้ทำความสะอาดได้ยาก
  • การใช้ไม้จิ้มฟันดัน หรือ แคะอย่างรุนแรง
  • การใส่เครื่องมือจัดฟัน
  • การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในช่วงตั้งครรภ์ วัยหมดประจำเดือน หรือการใช้ยาคุมกำเนิด
  • โรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรืออาจเกิดในผู้ที่ใช้ยาบางชนิด เช่น ยาความดันโลหิตสูง
  • พันธุกรรม บางคนอาจมีแนวโน้มทางพันธุกรรมที่ทำให้เกิดโรคเหงือกได้ง่ายกว่าคนอื่น
  • ความเครียดสะสม

หากพบว่าเริ่มมีอาการเหงือกอักเสบ
แนะนำให้มาปรึกษาทันตแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย

เพิ่มเพื่อน

การรักษาอาการเหงือกอักเสบ


ปัญหาฟันห่าง
  1. ขูดหินปูน และเกลารากฟันโดยทันตแพทย์ เพื่อกำจัดคราบจุลินทรีย์ หินปูนที่สะสม ทั้งบริเวณเหนือเหงือก และใต้เหงือก
  2. ในผู้ป่วยโรคปริทันต์ จะทำการรักษาด้วยการเกลารากฟัน และการขูดหินน้ำลายที่เกาะอยู่ตามฟัน โรคนี้ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ (เพราะฉะนั้นแล้ว เราควรดูแลรักษาสุขภาพช่องปาก และฟันให้สะอาด แปรงฟันอย่างถูกวิธี ใช้ไหมขัดฟันอย่างเป็นประจำ)

*พบทันตแพทย์ เพื่อตรวจสุขภาพช่องปากและฟัน อย่างน้อยทุก ๆ 6 เดือน


ข้อมูลเพิ่มเติม : เหงือกอักเสบ เหงือกบวม แก้ยังไงดี? (คลิก)

สุขภาพเหงือกที่ดี เป็นยังไง

  1. เหงือกสุขภาพดีควรมี สีชมพูอ่อน ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล
  2. ลักษณะพื้นผิวยึดเกาะกับฟันแน่น ไม่หลวม ไม่หลุด
  3. เนื้อเยื่อที่อยู่บริเวณเหงือกรอบฟัน ไม่บวม ไม่อาการเลือดออกตามไรฟัน
ดูวิธีการรักษาฟัน
สูตรลับฟันดี 2 2 2

วิธีป้องกันเหงือกอักเสบ

  • แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
  • ทำความสะอาดซอกฟันด้วยไหมขัดฟันอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง
  • ดื่มน้ำบ่อย ๆ เพื่อลดอาการปากแห้ง และขจัดการสะสมของคราบพลัค
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาล และการสูบบุหรี่
  • พบทันตแพทย์สม่ำเสมอ ทุกๆ 6 เดือน เพื่อตรวจเช็กสุขภาพเหงือกและฟัน ลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดอาการเหงือกอักเสบ

มั่นเช็กเหงือกให้สุขภาพดีอยู่เสมอ
เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาเหงือกอักเสบในอนาคต

ปรึกษา-จองคิว

สรุป

อาการเหงือกอักเสบเป็นปัญหาที่พบได้ในทุกช่วงวัย หากเรามีอาการผิดปกติภายในช่องปาก เช่น อาการปวดฟัน ฟันโยก หรือ การมีเลือดออกตามไรฟัน ควรปรึกษาทันตแพทย์เพื่อวางแผนการรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มต้น เพื่อให้เหงือกของเรากลับมาแข็งแรงเช่นเดิม ดังนั้น การรู้จัก และจัดการกับเหงือกอักเสบตั้งแต่เนิ่นๆ จึงเป็นเรื่องสำคัญมาก


References

  • “ความรู้สู่ประชาชนภาควิชาปริทันตวิทยา” – คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | https://www.dent.chula.ac.th/
  • “โรคเหงือกอักเสบ” – คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | http://cuir.chula.ac.th/

ทุกปัญหาเรื่องฟัน เดนทัล แพลนเน็ต แก้ไขได้

รวมทุกปัญหาเรื่องฟัน ที่ เดนทัล แพลนเน็ต

สอบถาม หรือ ขอคำปรึกษาผ่านแชทได้เลย!

เพิ่มเพื่อน

ดูวิธีการรักษาฟัน

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว